13 Nov ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ
ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ
“เต่าทะเลเป็นตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของท้องทะเล”
“เต่าทะเล” ขึ้นชื่อว่าเป็น “สัตว์นักเดินทาง” ชีวิตการเดินทางของพวกมันได้เริ่มต้นขึ้นนับแต่วันแรก ที่ฟักออกจากไข่ จุดหมายปลายทางแรกของการ เดินทาง คือ การมุ่งหน้าเดินทางสู่ทะเลลึกให้เร็วที่สุด พวกมันต้องว่ายน้ําอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการหยุดพัก ยาวนาน 3-5 วัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการว่ายน้ําที่ ยาวนานเช่นนี้ ถือเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อเพื่อ เตรียมพร้อมสําหรับการเดินทางอันแสนยาวไกล หากแต่ว่าเมื่อลูกเต่าเดินทางถึงท้องทะเลหรือมหาสมุทร อันกว้างใหญ่ เรื่องราวชีวิตและการผจญภัยของพวกมันกลับสูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย นักวิทยาศาสตร์ เรียกช่วงชีวิตที่หายไปของเหล่าเต่าทะเลว่า “The lost year”
ประวัติความเป็นมา
ในอดีตได้มีการให้สัมปทานการเก็บไข่เต่าทะเลจึงทำให้มีการบุกรุกแหล่งวางไข่ของเต่าทะเลเกิดขึ้นเป็นอย่างมากทำให้เมื่อ พ.ศ.2493 กองทัพเรือได้ออกประกาศตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร พุทธศักราช 2478 ให้สงวนพื้นที่ทางทะเล และชายฝั่งบางส่วน ของอำเภอสัตหีบ เพื่อไว้ใช้ประโยชน์ราชการทหาร และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการประมง ปี พ.ศ.2490 คุ้มครองให้ เกาะคราม เกาะอีร้า และเกาะจาน ซึ่งเป็นพื้นที่วางไข่เต่าทะเล ไม่ให้มีผู้บุกรุกนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงเป็นจุดเริ่มต้น ของการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลของกองทัพเรือ ทั้งนี้เพื่อให้งานการอนุรักษ์พันธุ์เต่าเป็นไปอย่างมีระบบในปี พ.ศ.2532 กองทัพเรือได้กำหนดให้พื้นที่บริเวณ เกาะคราม เกาะอีร้า เกาะจาน (แหล่งวางไข่ ผสมพันธุ์แหล่งกำหนด) เป็นหน่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล (นธต.) มีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัย เกาะคราม เกาะจาน เกาะอีร้า เฝ้าตรวจดูแลรักษาทัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งสัตว์ทะเลบนเกาะและบริเวณโดยรอบและในปี พ.ศ.2537 กองทัพเรือได้จัดตั้งศูนย์อนุรักษ์เต่าทะเล กองทัพเรือขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการให้ความรู้และปลูกฝั่งค่านิยมให้กับประชาชนรวมทั้งเป็นส่วนในการอนุบาลเต่าทะเลโดยอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและชายฝั่งและงานด้านฝ่ายอำนวยการของกองทัพเรือ
สาเหตุที่เต่าทะเลลดลง
โดยมนุษย์
- การบุกรุกแหล่งวางไข่ โดยการดัดแปลงพื้นที่หาดทรายบริเวณแหล่งวางไข่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมอื่นๆ
- การประมง เช่น การใช้อวนลาก อวนลาย เบ็ดราว ฯลฯ
- เป็นเครื่องประดับ ไขมันเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางบางชนิด หนังของเต่าทะเล ใช้ทำเครื่องหนัง และการบริโภคไข่เต่า เนื้อเต่าเป็นต้น
- การทิ้งขยะมูลฝอยลงแม่น้ำ ทะเล
โดยธรรมชาติ
- ถูกสัตว์ใหญ่กินขณะเป็นไข่หรือตัวอ่อน
- สภาพแวดล้อมในทะเลเสื่อมโทรม
- ภาวะโลกร้อน
แนวทางการอนุรักษ์เต่าทะเลร่วมกับกองทัพเรือ
- ไม่ใช้ประโยชน์จากเต่าทะเล เช่น ไม่บริโภคไข่เต่าและเนื้อเต่าทะเล และไม่ซื้อผลิตภัณฑ์จากเต่าทะเล
- ไม่บุกรุกแหล่งวางไข่ แหล่งผสมพันธุ์และแหล่งกำเนิดบริเวณ เกาะคราม เกาะอีร้า และเกาะจาน
- ไม่ทิ้งขยะมูลฝอยลงสู่แม่น้ำ และทะเลโดยเฉพาะถุงพลาสติก
- ช่วยกันเผยแพร่ความรู้ในการอนุรักษ์เต่าทะเล
- บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการอนุรักษ์และคุ้มครองเต่าทะเล
นักวิทยาศาสตร์ศึกษาพบว่าการเดินทางของเต่าทะเลไม่ใช่เป็นการสุ่มเดา แต่พวกมันสามารถ จดจําเส้นทางการเดินทางได้เป็นอย่างดี และนั่นก็ไม่ได้หมายความว่าการเดินทางของพวกมันจะวนเวียน อยู่ในเส้นทางเดิมๆ เท่านั้น เพราะนักวิทยาศาสตร์พบว่า พวกมัน พร้อมที่จะเดินทางไปยังแหล่งหากินที่อุดมสมบูรณ์กว่า และสามารถ เดินทางกลับมาวางไข่ในบริเวณเดิมได้อย่างแม่นยํา นักวิทยาศาสตร์ศึกษาพบว่าการเดินทางของเต่าทะเลไม่ใช่เป็นการสุ่มเดา แต่พวกมันสามารถ จดจําเส้นทางการเดินทางได้เป็นอย่างดี และนั่นก็ไม่ได้หมายความว่าการเดินทางของพวกมันจะวนเวียน อยู่ในเส้นทางเดิมๆ เท่านั้น เพราะนักวิทยาศาสตร์พบว่า พวกมัน พร้อมที่จะเดินทางไปยังแหล่งหากินที่อุดมสมบูรณ์กว่า และสามารถ เดินทางกลับมาวางไข่ในบริเวณเดิมได้อย่างแม่นยํา
การเดินทางนับพันกิโลเมตรเพื่อกลับมาวางไข่ในบริเวณ ชายหาดเดิมหรือละแวกเดิมทุกครั้ง ยังไม่ชวนให้พิศวงเท่ากับ ชายหาดที่แม่เต่าทะเลกลับมาวางไข่นั้น คือชายหาดเดียวกับที่แม่เต่า ทะเลเกิด ปริศนาที่หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าเกิดขึ้นได้เพราะเหตุใด
ผลการศึกษาพบหลายข้อสันนิษฐานที่เป็นไปได้ว่า แม่เต่าทะเลสามารถเดินทางกลับมาได้ อาจ ด้วยการจดจําสภาพเคมีของน้ําทะเล สภาพหาดทราย และความลาดชันของชายหาดบริเวณนั้นได้อย่าง แม่นยําตั้งแต่แรกเกิด อีกทั้งในร่างกายของเต่าทะเลยังมีนาฬิกาชีวภาพและสนามแม่เหล็กที่จะเป็นเครื่อง นําทางให้เต่าทะเลเดินทางกลับมายังที่เดิมได้
นอกจากนี้ ดร.ศันสรียา วังกุลางกูร จากมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ให้ข้อมูลว่า เต่าทะเลที่ เป็นสัตว์ที่มีวิถีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มประชากร หรือ โคโลนี (Colony) แต่ละโคโลนีมีเส้นทางการ เดินทางที่ค่อนข้างแน่นอน ดังนั้นการเดินทางกลับมาวางไข่ที่เดิมจึงเป็นเรื่องที่เป็นได้มาก นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังได้มีการศึกษาในระดับพันธุกรรมที่ mitochondrial DNA (mDNA) ของเต่าตนุ (Chelonia mydas) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าถ้าเป็นเต่าทะเลต่างโคโลนีกันจะมีความแตกต่างของ ลําดับเบสอย่างน้อย 1 คู่บนสาย DNA
อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งที่แม่เต่าทะเลเดินทางกลับมาที่ชายหาดเดิมได้ เป็นไปได้ว่าอาจมีการเดินทาง ตาม ๆ กันไป โดยมีแม่เต่าที่อายุมากและเคยเดินทางบนเส้นทางนี้มาก่อนเป็นตัวนําทาง อย่างไรก็ตามปัจจัยที่เป็นเครื่องนําทางให้เต่าทะเลผจญภัยไปยังสถานที่ต่างๆ ได้อย่างแม่นยําดังที่ กล่าวมาข้างต้นนั้น ยังเป็นเพียงข้อสันนิษฐานที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีความเป็นไปได้มากที่สุด ส่วน คําตอบที่แท้จริงจะเป็นเช่นไรนั้น ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษา เพื่อแกะรอยเส้นทางของนักเดินทางไกล เหล่านี้ต่อไป